วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7
 
 นายนพรัตน์ จิณโรจน์ 56010514034 สาขาภาษาไทย(TH) คณะศึกษาศาสตร์ ที่นั่ง B5 URL blog :http://noppharat56010514034.blogspot.com/
ภาคเรียน ที่ 1 / 2556 วิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน กลุ่ม 1
 
1 ไฟล์วอลล์ มีหน้าที่  ในการรักษาความปลอดภัย ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และใช้ต่อสู้กับไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่มากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ท โดยป้องกันจากเครือข่ายภายนอก

2 wrom เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ที่ใช้มาโครโปรแกรม ที่อยู่ในโปรแกรมประยุกต์
 ในการกระจายหรือแพร่พันธุ์ตัวเอง โดยwrom จะแพร่กระจายคล้ายกับตัวหนอนเจาะ หรือ ชอนไชในเครื่องคอมพิวเตอร์


    virus computer โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่มนุษย์เขียนขึ้นมา มีวัตถุประสงค์เพื่อรบกวนการทำงาน หรือทำลายข้อมูล

     spy  ware   โปรแกรมเล็ก มีจุดประสงค์เพื่อมาสอดส่องการทำงานของคอมพิวเตอร์ อาจจะเพื่อโฆษณาสินค้า


      Adware  โปรแกรมสนับสนุนโฆษณา โดยโปรแกรมจะพยายามเปิด  โฆษณาขึ้นมาบ่อยๆ ถ้าอยากให้หายไปต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์นั้น

3 ไวรัส คอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง

       ไวรัสคอมพิวเตอร์มี 6 ชนิด ได้แก่
-บูตเซกเซอร์ไวรัส
-โปรแกรมไวรัส
-ม้าโทรจัน
-โพลิมอร์ฟิกไวรัส
-สลิตไวรัส
-มาโครไวรัส

4.ให้นิสตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
-ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัส
-อัพเดตฐานข้อมูลไวรัสสม่ำเสมอ
-อย่ารับไฟล์แปลกหน้า
-ติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ
-เมื่อติดไวรัสแล้วอย่ากลัวจงมีสติ

5.มาตราการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสม

โปรแกรมเอาส์คีพเปอร์ สำหรับแก้ปัญหา ภาพลามกอนาจาร  การใช้เว็บไม่เหมาะสม โดยการนำไปติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์   
 

ภาวะโลกร้อน Global Warming




ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็เพราะว่าก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเผาผลาญถ่านหินและเชื้อเพลิง รวมไปถึงสารเคมีที่มีส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ใช้ และอื่นๆอีกมากมาย จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสม กลับถูกก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆสูงขึ้นจากเดิม

        จากปรากฏการภาวะโลกร้อน ส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติหลายอย่างตามมาไม่ว่าจะเป็น ภัยแล้ง น้ำท่วม และอื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลกมนุษย์ ทั้งโดยตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดความยากลำบากต่อการอยู่อาศัย

 
ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญๆ มีอะไรบ้าง แต่ละชนิดมีที่มาอย่างไร 
ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทนและก๊าซไนตรัสออกไซด์
1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดจาก การเผาไหม้เชื้อเพลิง โรงงานอุตสาหกรรม และการตัดไม้ทำลายป่า
2. ก๊าซมีเทน เกิดจาก การย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ที่มีน้ำขัง เช่น นาข้าว
3. ก๊าซไนตรัสออกไซด์ เกิดจาก อุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในกระบวนการผลิต และการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในการเกษตรกรรม

รู้ได้อย่างไรว่าโลกร้อนขึ้น และในอนาคตอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะสูงขึ้นกี่องศาเซลเซียส 
จากการเฝ้าติดตามความผันแปรของอุณหภูมิโลก พบว่า ในระยะ 10 ปี สุดท้าย พ.ศ. 2539 – 2548 เป็นช่วงที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกร้อนที่สุด 
หากไม่มีมาตรการใดๆ ที่จะยับยั้งการปล่อยออกก๊าซเรือนกระจกแล้ว คาดว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มสูงขึ้น 1.5-4.5 องศาเซลเซียส ภายในปี ค.ศ. 2100
ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไร 
จากความผันแปรของภูมิอากาศมีผลต่อลักษณะอากาศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยก็มีสัญญาณที่บ่งบอกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น นั่นคือ ความรุนแรงของภัยธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศในเดือนพฤศจิกายน 2549 ซึ่งอยู่ในช่วงต้นฤดูหนาวสูงกว่าปกติ 1.7 องศาเซลเซียส สูงสุดเป็นอันดับ 1 ในรอบ 56 ปี ของประเทศ และในเดือนธันวาคม 2549 อุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิเฉลี่ย 24 องศาเซลเซียส) 
 
 
 

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด


 
บทบาทของภาษาในการพัฒนาการคิด
     มนุษย์แสดงความคิดออกมาได้โดยการกระทำและโดยการใช้ภาษา การกระทำบางอย่างคนอื่นอาจไม่เข้าใจ ถ้าจะให้เข้าใจได้ผู้กระทำก็คงต้องอธิบายให้เข้าใจด้วย
     การใช้ภาษาเพื่อแสดงความคิดหรืออธิบายความคิดของคนเราจะช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจ และยังเป็นการขัดเกลาความคิดของตนให้แจ่มชัดและแหลมคมยิ่งขึ้นด้วย
     ในขณะที่มนุษย์ใช้ความคิดย่อมใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดไปด้วยอัตโนมัติ ภาษาจึงเปรียบประดุจเงาของความคิดตลอดเวลา
 ความคิด คือ กระบวนการการคิดทำให้มนุษย์รู้จักใช้เหตุผล ตีความ อธิบาย หรือจำลองโลกของพวกเขาขึ้นจากประสบการณ์ อีกทั้งยังสามารถ คาดการณ์หรือทำนายโลกของพวกเขาได้อีกด้วย
  การคิดทำให้มนุษย์บรรลุเป้าหมาย ผ่านทางความต้องการ และความปรารถนาโดยการคิดยังได้สร้างการวางแผนหรือความพยายามเพื่อให้เป้าหมายสำเร็จ
วิธีคิดมี 3 วิธี ได้แก่
  1  วิธีคิดวิเคราะห์
  2  วิธีคิดสังเคราะห์
  3   วิธีคิดประเมินค่า
การวิเคราะห์  คือ  การพิจารณาแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง แล้วทำความเข้าใจต่อไปว่า  แต่ละส่วนสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร
ตัวอย่าง  
                 เภสัชกรวิเคราะห์สมุนไพรเพื่อหาฤทธิ์ของตัวยาต่างๆ ที่อยู่ในสมุนไพร 
       นักเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ  
          นักวรรณคดีวิเคราะห์บทกวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย
 
วิธีการวิเคราะห์
๑. กำหนดขอบเขตหรือนิยามให้ชัดเจนว่าจะวิเคราะห์อะไร
๒. กำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนว่าจะวิเคราะห์เพื่ออะไร
๓. พิจารณาหลักความรู้หรือทฤษฎีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์
๔. ใช้หลักความรู้ให้ตรงกับเรื่องที่จะวิเคราะห์เป็นกรณีๆ ไป
๕. สรุปและรายงานผลการวิเคราะห์ให้เป็นระเบียบชัดเจน
การสังเคราะห์ คือ  การรวมส่วนต่างๆ ให้ประกอบกันเข้าด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสมจนเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นสำหรับจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
  ตัวอย่าง  
                      การสังเคราะห์ประโยค  ต้องมีความรู้เรื่อง ถ้อยคำ ความหมายและน้ำหนักของคำ โครงสร้างของประโยค    
                      การเรียบเรียง  เช่น  เรียงความ จดหมาย บทความ แถลงการณ์ ต้องมีความรู้ด้านภาษา  พื้นฐานของผู้อ่านและผู้ฟัง  ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในเรื่องนั้นๆ ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์แวดล้อมอื่นๆ
 

วิธีการสังเคราะห์
๑. ตั้งจุดมุ่งหมายในการสังเคราะห์ให้ชัดเจน
๒. หาความรู้เกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี หรือแนวทางที่เหมาะสม เพื่อนำมาใช้เป็นหลักในการสังเคราะห์
๓. ทำความเข้าใจส่วนต่างๆ ที่จะนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการสังเคราะห์ให้ถ่องแท้
๔. ใช้หลักความรู้ในข้อที่ ๒ ให้เหมาะแก่กรณีที่จะสังเคราะห์
๕. ทบทวนว่าผลของการสังเคราะห์สอดคล้องกับความมุ่งหมายหรือไม่เพียงใด
การประเมินค่า  คือ  การใช้ดุลยพินิจพิจารณาแล้วตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นอาจเป็น วัตถุ ผลงาน การกระทำ หรือกิจกรรม    ก็ได้ ในการตัดสินคุณค่าอาจบ่งชี้ว่าสิ่งนั้นดีหรือเลว เป็นคุณหรือโทษ มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ คุ้มหรือไม่คุ้ม
           โดยทั่วไป ก่อนจะประเมินค่าจำเป็นต้องมีเกณฑ์มาเป็นเครื่องตัดสินสิ่งที่เราประเมิน บางทีในการประเมินค่า เราอาจประเมินโดยการพิจารณาเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่นตามความเหมาะสม ก็ได้
๑. ทำความเข้าใจสิ่งที่เราจะประเมินให้ชัดเจน กล่าวคือวิเคราะห์สิ่งที่จะประเมิน นั่นเอง
๒. พิจารณาว่าจะใช้เกณฑ์อะไรเป็นเครื่องตัดสินคุณค่าของสิ่งที่จะประเมิน
๓. ถ้าจะประเมินค่าโดยไม่ใช้เกณฑ์ อาจเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่นซึ่งมีความสมเหตุสมผลพอที่จะนำมาเปรียบเทียบกันก็ได้
 
บุคคล โดยหมายถึงขณะที่กำลังคิด ผลของความคิดหรือการจัดการความคิด คำที่คล้ายๆกัน คือการรับรู้ความรู้สึก ความตระหนักรู้ และจินตนาการ
  เพราะความคิดเป็นพื้นฐานของการกระทำ การมีปฏิสัมพันธ์ ความเข้าใจทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของมนุษย์ อีกทั้งยังเป็นเป้าหมาย ระยะยาวในการศึกษาในหลายสาขาวิชา เช่นชีววิทยา ปรัชญา จิตวิทยา และสังคมวิทยา
การที่เราจะแยกความแตกต่าง ขึ้นอยู่กับมโนทัศน์ และประสบการณ์ 
การสร้างมโนทัศน์ขั้นที่ ๑ เช่นภาพทางจิต เพื่อสร้างความคิดรวบยอดโดย
   การเปรียบเทียบ
  การสะท้อน
  การแยกแยะ
 
 
ลักษณะร่วม(Inclusive features) เป็นลักษณะที่มีเหมือนกัน เช่นคน มีตา มีสองขา มีสองตา มีหู มีจมูก มีปาก และอื่นๆ เหมือนกันอีกหลายชนิด
  ลักษณะแยก(Distinctive features) ลักษณะที่แยกความแตกต่าง  และยอมรับว่าไม่เหมือนกับสิ่งอื่น
  ลักษณะเฉพาะ(Exclusive features) ลักษณะที่สิ่งอื่นไม่มี เช่น แมวมีกรงเล็บที่สามารถยืดหดเก็บเข้าในอุ้งเท้าได้ หรือลักษณะอื่น ที่แตกต่างจากสัตว์อื่นได้
 
ภาษากับความคิดมีความสัมพันธ์กัน
  หากสมรรถภาพทางการคิดขาดประสิทธิภาพ สมรรถภาพทางการใช้ภาษาก็จะขาดประสิทธิภาพ
  ถ้าสมรรถภาพทางการใช้ภาษาขาดประสิทธิภาพ สมรรถภาพทางการคิดก็จะขาดประสิทธิภาพ
ดังนั้น ความสัมพันธ์ของการใช้ภาษากับความคิดจึงมีความสัมพันธ์กัน
 
 
 
อ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. ภาษาเพื่อพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, 2552
ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดกับการคิด(ออนไลน์). ที่มา http://www.thaigoodview.com/node/122550 [วันที่ 10 กรกฎาคม 2556]